พระปัญญาภิมณฑ์มุนี หรือหลวงปู่บุญมี ปญญาวุโธ
วัดเจดีย์ยอดทอง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ท่านเป็นศิษย์ หลวงปู่หล้า ขันติธโร (ลูกศิษย์รุ่นใหญ่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ) นามเดิมชื่อ บุญมี บัวทอง เป็นบุตรของ นายพรหมรินทร์ และนางยงค์ บัวทอง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2473 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ที่บ้านโพนทอง หมู่ที่ 2 ต.โพนทอง อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย มีพี่น้องร่วมสาย โลหิต 9 คน หลวงปู่บุญมี ปญญาวุโธ เป็นน้องคนสุดท้อง (ปัจจุบันพี่ๆ เสียชีวิตหมดแล้วทุกคน) เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประชาบาลบ้านโพนทอง บรรพชาเป็นสามเณร พ.ศ.2490 เมื่ออายุได้ 18 ปี (ฝ่ายธรรมยุต) ที่วัดป่าสุทธาวาส ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร โดยพระมหาทองสุข วัดป่า สุทธาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบ 20 ปี อุปสมบท (ญัตติ) เป็นพระภิกษุที่วัดศรีโพนเมือง ต.เชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
(ก่อนวันประชุมเพลิงพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ) วันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2493 โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จุม พุนธโล) วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ ฝั้น อาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปญญาวุโธ” แปลว่า “ผู้มีปัญญาเป็นดังอาวุธ” สายธารธรรม
จากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ หลวงปู่หล้า ขันติธโร ครูอุปัชฌาย์ อาจาริยะคุณัง อะหัง วันทามิ ด้วยวาสนาบารมีที่มีต่อกันระหว่างหลวงปู่หล้ากับหลวงปู่บุญมี ทำให้ในวัยเด็กท่าน ได้มีโอกาสอุปัฏฐากปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่หล้า เนื่องด้วยหลวงปู่หล้า ได้พำนักปฏิบัติกรรมฐานภาวนาในป่า ในหมู่บ้านที่ท่านอยู่ ซึ่งมีชาวไร่ชาวนาอาศัยอยู่ 7-8 หลังคาเรือน โยมพ่อ โยมแม่ ท่านเป็นผู้ใฝ่ในธรรม เป็นผู้นำของหมู่บ้านในการทำบุญ ทำทาน รักษาศีลภาวนา ได้ใช้ให้หลวงปู่บุญมีนำจังหันไปถวาย หลวงปู่หล้ำาทุกวัน
ซึ่งระยะทางจากบ้านไปถึงกุฏิหลวงปู่หล้า ซึ่งอยู่ในป่านั้นไกลพอสมควรสำหรับเด็กชายตัวเล็กๆ อายุประมาณ 7-8 ขวบ ท่านเล่าว่า ท่านวิ่งบ้างเดินบ้างด้วยความ กลัว เพราะไปคนเดียว แต่ก็ไปจนถึง ไปกลับใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลวงปู่หล้าชวนหลวงปู่บุญมีให้บวชเณร คนอื่นๆ ในหมู่บ้านหลวงปู่หล้าก็ไม่ได้ชวน หลวงปู่บุญมีบวชเณรแล้วได้ ไปอยู่กับหลวงปู่หล้า โดยกุฏิอยู่ติดกับกุฏิหลวงปู่หล้า เนื่องจากตอนนั้นท่านกลัวผีมาก หลวงปู่หล้าอนุญาตด้วยความเมตตาศิษย์ ปฏิบัติปฏิปทาของหลวงปู่บุญมี ท่านเป็นคนตรงต่อเวลา พูดน้อย พูดแต่ความจริง พูดแต่ธรรมะ ความอดทนก็เป็นเลิศ ชอบสันโดษ “พอใจในสิ่งที่มี ยินดีในสิ่งที่ได้” เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย มีความเมตตาต่อทุกคน ไม่เลือกชนชั้น มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม