เหรียญมังกร,พระกริ่ง “รวยเพิ่มพูน”
เปิดจองที่”สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำจำปาทอง จ.ราชบุรี”
วันที่ 9 พ.ย.64 เวลา 9:00น. (จองได้คนละ2องค์//องค์ละ 300บ.) รับพระวันที่ 23 พ.ย. 64 ได้ที่…
สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำจำปาทอง จ.ราชบุรี หรือ…รับพระได้ที่ศูนย์จองที่ท่านได้ทำการจองไว้

และในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 นี้มีงานพุทธาภิเษก พระกริ่งชินบัญชร เหรียญมังกร รุ่นรวยเพิ่มพูน ทั้งนี้มีพระเกจิร่วมอธิฐานจิต
ทางทีมงาน จะมาเล่าประว้ตคร่าวๆๆ ดังนี้
“ เปิดประวัติ 6 คณาจารย์ พุทธาภิเษกเหรียญมังกรรวยเพิ่มพูน และพระกริ่งชินบัญชร รวยเพิ่มพูน “
นับถอยหลังรอวันเปิดจองวัตถุมงคลรุ่นใหม่ทั้งสองรุ่น ที่ฮือฮาสนั่นโซเชียลแต่ก่อนที่จะเปิดจองเรามารู้จักกับประวัติของเกจิอาจารย์ดังที่พุทธาภิเษกเหรียญมังกรและพระกริ่งชินบัญชร รวยเพิ่มพูน
“ เริ่มที่เกจิอาจารย์ท่านแรก “

หลวงพ่อทองสุข วัดหนองฆ้อ
พระครูพุทธิศาสต์มุนี (สุข ลทฺธเมโธ) อายุ 81 ปี พรรษา 61 เดิมชิ่อ ทองสุข ขอบอรัญ เกิดวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2479 อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.2500 อายุ 21 ปี มี หลวงพ่อลัด วัดหนองกะบอก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมทแล้วไปจำพรรษาที่วัดหนองพะวา และยังเดินทางไปมาเพื่อปฏิบัติพระอุปัชฌาย์(หลวงพ่อลัด) ที่วัดหนองะบอก พรรษาที่ 5 ท่านได้ไปเป็นเจ้าสำนักสงฆ์ดอนจันทร์ และได้พัฒนาจนกระทั่งได้ยกฐานะเป็นวัดดอนจันทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนจันทร์ ระหว่างที่อยู่วัดดอนจันทร์ ท่านได้เดินทางไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ทิม เพื่อศึกษาวิชาต่างๆ จากหลวงปู่ทิม ต่อมาหลวงปู่ทิม ท่านได้ให้ไปศึกษาวิชาวิปัสสนา สมาธิ กับหลวงพ่อลัด วัดหนองกะบอก และได้ศึกษาวิชากับหลวงปู่แก้ว เกสาโร ท่านได้ศึกษาวิชาจนครบถ้วนจากหลวงปู่แก้ว เช่น กสิณไฟ วิชาอาคมต่างๆตลอดจนการสักยันต์
ต่อมาในปี พ.ศ.2518 ท่านได้ออกจากวัดดอนจันทร์ ไปหักร้างถางพงก่อตั้งสำนักสงฆ์หนองฆ้อ และต่อมาได้ยกฐานะเป็นวัดหนองฆ้อ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาาสวัดหนองฆ้อ ตั้งแต่ พ.ศ.2536 จนถึงปัจจุบัน
“ เกจิอาจารย์ท่านที่ 2 “

พระสุธีปริยัตยาภรณ์ (เจ้าคุณพร้อม กนฺตสีโล ป.ธ.๗)
มีนามเดิมวา พร้อม พราหมณ์อนงค์ เกิดเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๗๙ ตรงกบวันจันทร์ ขึ้น๑๒ คํ่า เดือน ๗ปี ชวดบิดาชื่อ นายชื้น พราหมณ์อนงค์ มารดาชื่อ นางริ้ว อินทร์เหยมมีพี่น้องร่วมกน ั ๔ คน ท่านเป็ นบุตรคนโตพื้นเพเป็นคน บ้านนากุ่ม ต.โพธิ์หัก อ.บางแพ จ.ราชบุรีเมื่อปี พ.ศ 2485 ครอบครัวได้ย้ายจากราชบุรี ไปอยูที่หมู่บ้านเขาตาเกา ต้ .หนองโอ่ง อ.อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีจนถึงปัจจุบันนี้ ครอบครัวท่านประกอบ
อาชีพเกษตรกรรม ในวัยเด็กนั้นก็ได้ช่วย พ่อแม่ ทํามากิน ช่วยทํานา,ทําสวน เพื่อเลี้ยงครอบครัว เวลาวางก็จะเข้าวัดทําบุญอยู่ประจํา อยู่ไม่ขาด โดยนิสัยส่วนตัวเป็ นรักความสงบ ไม่ชอบวุนวาย กับใคร มีเพียงคนในครอบครัวเท่านั้นหากมีงานที่วัดก็จะไปร่วมทําบุญอยูไม่ขาดสาย จึงได้มีมีโอกาส ได้ฟังธรรมมะ อยู่เป็นประจํา ทุกครั้งที่ได้พระธรรมคําสั่งสอน ก็จะรู้สึกวามีความสุขมาก หากมีโอกาส ได้ไปวัดกับพ่อแม่ก็จะไปอยูเรื่อยๆ พี่น้องที่อยู่ด้วยกันนก็รักกนดี ช่วยเหลือซึ่งกนและกันดูแลครอบครัว ด้วยใจที่รักในพระพุทธศาสนา จึงได้ขอพ่อแม่บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2495 วัดยางยี่แส ต.หนองโอ่ง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
พระครูวินยานุโยค เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกศึกษา พระธรรมวินัย บาลีจากพระครูวินยานุโยคเมื่ออายุครบบวช จึงได้อุปสมบท ที่วัดปราสาททอง ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรีก็มีโอกาสได้พบพ่อแม่ ครูอาจารย์ผู้เปี่ ยมล้นด้วยความเมตตาจากพระเกจิอาจารย์หลายรูปท่านเมตตาสอนพระธรรมคําสั่งสอน จังหวัดสุพรรณบุรี มีพระเกจิอาจารย์ที่มีความรู้ด้านพระธรรมวินัย นอกจากนี้ยังได้รับความเมตตา จากพ่อแม่ ครูอาจารย์ท่านเมตตาสอนกรรมฐาน สอนการภาวนา การฝึกจิต นั่งสมาธิ เดินจงกรม นอกเรียนพระปริยัติธรรม ก็ได้เรียน วิปัสสนากรรม เผื่อฝึ กฝนจิต การที่ได้รับรับความเมตตาจากพ่อแม่ ครูอาจารย์ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่พรรษา2499 ที่ได้อุปสมบท ก็ตั้งใจศึกษา พระธรรมมาโดยตลอดได้จําพรรษาที่จังหวัดสุพรรณจนถึง 2504 และได้ธุดงค์มาอยูที่จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่2505 จังหวัดจันทบุรี เป็นวัดที่สงบร่มเย็น มีแม่นํ้ามีภูเขา และยังเป็นสถานที่พ่อแม่ครูอาจารย์หลายรูปได้มาปฏิบัติธรรม ครั้งแรกที่ได้มาก็รู้สึกชอบมาก ในระหวางนั้นก็ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไปพร้อมศึกษา บาลี และได้มีโอกาสได้ได้สอบ นักธรรมตรี จนถึงนักธรรมเอก ปี2534 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ เป็ นพระครู ศรีปริยัติภูบิต และได้สอบมหาเปรียญธรรมได้ สามประโยค ได้เป็ นพระมหา และได้สอบเปรียญธรรมมาเรื่อยจนถึงปี 2538สอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค ปีเมื่อวันที่ 5ธันวาคม พ.ศ.2550ได้รับแต่งตั้งให้เป็ นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระสุธีปริยัติยาภรณ์เมื่อปี2559 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษา เจ้าคณะอําเภอแหลมสิงห์ เจ้าอาวาสวัดพลับ ก่อนที่จะได้มาอยูที่วัดพลับบางกะจะแห่งนี้ ก็ได้มีโอกาสได้ รับใช้พ่อแม่ ครูอาจารย์ได้มีโอกาสได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ พิศดู วัดเทพธารทอง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี หลวงปู่ พิศดู ท่านเป็นชาวกมพูชามาแต่กาเนิด ท่านจึงสามารถฟังอ่านเขียน ได้อย่างคลองแคล่ว บ้านเกิดของท่านอยู่ติดกับชายแดนประเทศไทย เมื่อมท่านได้อุปสมบทแล้ว จึงอพพยบหนี ภัยสงครามมาที่ประเทศไทย เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2โดยหนีมาทางนํ้า แจวเรือมากับหลาน และน้องชาย รวมทั้งพระสงฆ์รูปอื่น ๆ หลบหนีออกมาเมื่อมาถึงเมืองไทยได้แวะพักอยูที่เขาวงก่อนต่อมาจึงได้มาอยูที่วัดคลองใหญ่อ.คลองใหญ่จ.ตราดขณะที่อยูที่วัดคลองใหญ่นี่เองท่านได้เริ่มเรียน เวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ เช่น คาถาโคมแกว คาถาเจริญคุณ และวิชาอาคต่างๆด้วย รวมถึงวัตรปฏิบัติ เบ็ดเตล็ดต่างๆ โดยมีพระครูบัวตูมรัตนสาคร เป็นผู้ถ่ายทอดให้วันละคําสองคํา ท่านก็ได้ จดจํารํ่าเรียนมา และเนื่องจากการที่ท่านมีนิสัยรักการอ่านเขียน มีความจําแม่น ท่องเก่งมาตั้งแต่เมื่อครั้งยังอาศัยอยูกับโยมพ่อและโยมแม่ หลวงปู่ พิศดู ท่านมักออกธุดงค์เพียงรูปเดียวอยูในป่ าเขา เพื่อฝึกจิตภาวนา จนบรรลุธรรม ท่านมีลูกศิษย์อยูหลายรูป หนึ่งในลูกศิษย์ ของท่านคือ พระสุธีปริยัติยาภรณ์ เจ้าคุณพร้อม เจ้าคุณพร้อมท่านได้มีโอกาสรับความเมตตาจากหลวงปู่ พิศดู ตั้งปี 2505 ที่มาอยูวัดพลับ และยังได้ไปจําพรรษา เพื่อศึกษา ธรรมมะจากหลวงปู่ พิศดู หลวงปู่ พิศดู ท่านจะมีธรรมมะแปลกมาค่อยสอนอยูเสมอ จากวิชาอาคมที่ท่านได้เมตตาสอนให้แล้วท่านยังเมตตา ให้ปลงเกศาของท่าน อีกด้วย หลวงปู่ พิศดู ท่านรู้วาระจิต ของศิษย์ ท่านมาหาท่าน บางครั้งคนที่คิดจะมาลองวิชาท่านท่านรู้หมดแต่ท่านไม่สนใจ แต่กลับให้ธรรมมะ ไปเป็ นธรรมทานกลับไปผู้ที่ได้ฟังแล้วเกิดปี ติสุขจากธรรมมะ หลวงปู่ สอนวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพระสายป่ า คือเน้นการฝึกจิตภาวนา มากวา เมื่อท่านสอนแล้วท่านก็จะทดสอบจิต ทอสอบธรรมของลูกศิษย์วาเป็นเช่นไร เช่นถามตอบปัญหาธรรม เจ้าคุณพร้อมก็ได้ค่อยอุปัฏฐากหลวงปู่ พิศดู จนท่านมรภาพ ไม่เคยห่างท่าน แม่จะอยู่วัดพลับเดินไปที่วัดหลวงปู่ อยูไม่ขาดสายเสมอต้นเสมอปลายมาโดยตลอด บรรดาลูกศิษย์หลวงปู่ ต่างก็เคารพท่านและมาหาอยูบ่อยเช่นกน ด้วยความนอบน้อมของท่านจึงเป็นที่รักและศรัทธา ของลูกศิษย์ ตั้งแต่ท่านมาอยูวัดพลับ แห่งที่ก็ค่อยพัฒนาอยูไม่ ขาดสาย ทั้งงานก่อสร้างและอนุรักษ์เสนาสนะภายในวัดพลับ
“ เกจิอาจารย์ท่านที่ 3 “

หลวงพ่อพระครูสมุห์รมย์ วิริยะธมฺโม
เกิดวันพฤหัสวันที่ 20 เดือนเมษายน 2509 ปีมะเมีย เจ้าอาวาสวัดเทพนรสิงห์ ต.สวายจีก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ศิษย์เอกคู่บุญคู่บารมี หลวงปู่พวง ธมฺมสาโร มีพี่น้อง 10 คนท่านเป็นคนที่ 8 บิดาชื่อพ่อลัน อ่วมรัมย์ อายุ 90 ปีเสียชีวิตแล้ว มารดาชื่อแม่อื่ง อ่วมรัมย์อายุ 50 ปีท่านก็เสียชีวิตแล้ว ท่านบวชตอนอายุ 25 ปี พระครูธรรมะประภากร หรือหลวงปู่เอก วัดศาลาลอย มรณะภาพแล้ว พระกรรมวาจาจารย์พระครูสังฆรักษ์บันจง พระอนุกรรมวาจารพระครูประนอม หลังจากบวชได้ขออุปัชฌาย์ไปอยู่ที่วัดเทพนรสิงห์ เพื่ออยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่พวง ธมฺมสาโร และได้เรียนวิชา ฝึกกรรมฐานกับหลวงปู่พวง สมัยนั้นวัดเทพนรสิงห์ยังไม่เจริญยังเป็นป่าช้าอยู่ เหมาะแก่การฝึกกรรมฐาน ฝึกอยู่หลายปีจนแตกฉานในวิชาต่างๆ และท่านมีจิตอยากจะเดินธุดงค์เพื่อฝึกจิตไห้มีความมั่นคง ตั้งใจจะบวชตลอดชีวิตของท่าน หลวงปู่พวงได้ทราบด้วยญาญของท่านว่า หลวงพ่อพระครูสมุห์รมย์สามารถทำหน้าที่แทนท่านได้แล้วทุกอย่างจึงได้มอบหมายให้หลวงพ่อพระครูสมุห์รมย์เป็นเจ้าอาวาสแทนท่าน
“เกจิอาจารย์ท่านที่ 4 “
พระครูพิพัฒน์อโนมคุณ หลวงพ่อนัส วัดอ่าวใหญ่ จ. ตราด เกิดเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๒ ตรงกับขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีเถาะ บ้านเลขที่ ๑๘ หมู่ ๓ ต.ห้วงน้ำขาว อ.มืองตราด จ.ตราด บิดาชื่อนาย ติ๊ด มารดาชื่อ นางจ่วง ศรีณรงค์
นางจ่วง มารดาของหลวงพ่อนัส เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะตั้งครรภ์ฝันว่ามีเทวดาองค์หนึ่งมาหาแล้วบอกว่าลูกของเจ้าเป็นผู้มีบุญญาธิการสูงส่งมีปัญญาหลักแหลมเหนือใคร ต่อไปในภายภาคหน้าลูกของเจ้าก็จะเป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลทั่วไป
ในวัยเยาว์ เด็กชายวีนัส หรือหลวงพ่อนัส เป็นเด็กฉลาดซุกซนแก่นแก้วชอบแอบจำคาถาอาคมจากผู้เฒ่าผู้แก่และชอบไปคลุกคลีกับคนที่มีวิชาอาคมทั้งหลาย แต่ที่ร่ำเรียนถ่ายทอดจริงจังก็มี ก๋งนวล แดงตะนุ ซึ่งเป็นญาติกันท่านเห็นแววแห่งความเข้มขลังเลยถ่ายทอดวิชามาหลายอย่างจนหมดที่ท่านมีไม่ว่าจะเป็นวิชาด้านคงกระพันชาตรี เสกแป้งเสกสีผึ้งเมตตา บูชาไฟไล่ผี และอีกมากจนหมดไส้หมดพุง
หลังจากร่ำเรียนจนช่ำชองแล้วด้วยความแก่นแก้วก็ชอบลองไปทั่วสมัยนั้นมีคนถูกผีเข้าบ่อย ใครเอาไม่อยู่แต่เด็กชายวีนัสสยบจนราบคาบหมดจึงมีชื่อเสียงมาตั้งแต่เยาว์ แต่พออายุได้ ๑๗-๑๘ ปี ก็มารู้จักกับอาจารย์อีกคนชื่อ “หมอลอย จันทบุรี” เป็นหมอยารักษาโรคแบบโบราณ พอเห็นหลวงพ่อนัสตอนนั้นเป็นวัยรุ่นก็รู้สึกถูกชะตาขึ้นมาอีกคนเรียกมาทำความรู้จักแล้วก็ถ่ายทอดวิชาที่มีอยู่ให้จนหมดอีกคน หลังจากนั้นก็กลายเป็นหมอยาอีกด้วย
เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี หลวงพ่อนัสอุปสมบท ณ วัดอ่าวใหญ่ อ.เมือง จ.ตราด ในวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๐๒ โดยมีพระครูพุทธิสารวิบูล วัดลำดวน เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยมีพระครูพุทธิคุณคชทีป วัดอ่าวใหญ่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายยาว่า “อโนมปัญโญ” หมายถึง ผู้มีปัญญาหาเปรียบมิได้
หลังจากหลวงพ่อนัสอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้วท่านได้ศึกษากับพระครูชม เทียนชัย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านเมตตาคงกระพัน และเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ หลวงพ่อนัสตั้งใจร่ำเรียนวิชาจากพระครูชมจนชำนาญ ทั้งนี้พระครูชมได้รับการถ่ายทอดวิชามาจากหลวงพ่ออิ่ม อ.เกาะช้าง จ.ตราด ท่านก๋งชมเดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างวัดอ่าวใหญ่กับวัดสลักคอก เกาะช้าง อยู่เป็นประจำ ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อนัส กับอาจารย์ไพ แดงตะนุ สมัยบวชอยู่กับหลวงพ่อนัส สุดท้ายวัยชราท่านก๋งประจำพรรษาอยู่วัดอ่าวใหญ่จนกระทั่งมรณภาพ
เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ ไปเรียนกรรมฐานฝึกจิตฝึกสมาธิและวิชาเจิมจนสำเร็จได้รับมอบวิชาและครอบครูจากหลวงพ่อสวน วัดบางกระดาน อ.แหลมงอบ จ.ตราด ซึ่งท่านเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคสมัยนั้น ได้ถ่ายทอดวิชาเรื่องการเจิมต่างๆ ให้หลวงพ่อนัส จากนั้นประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๕ ได้เดินทางไปศึกษาวิชากับหลวงพ่อแดง วัดวังสรรพรส ต.บ่อ อ.ขลุง จ.จันทบุรี โดยเดินทางเท้าไปกลับระหว่างวัดวังสรรพรส กับวัดอ่าวใหญ่ แล้วจึงศึกษาวิชาปลุกเสกเสือและพระขุนแผน แต่ที่เด่นที่สุดเห็นจะเป็นวิชาย่นระยะทาง
หลวงพ่อคงท่านเห็นถึงความมุมานะตั้งใจที่จะไปร่ำเรียนอย่างจริงจังกับท่านจึงให้วิชาย่นระยะทางมาและที่บอกว่าเด่นมากเพราะลูกศิษย์หลวงพ่อนัสแทบทุกรุ่นจะเห็นหลวงพ่อแสดงปาฏิหาริย์โดยไม่รู้ตัวแทบทุกรุ่นทุกพรรษา เช่น เวลาเดินเข้าไปสวนเงาะของวัดหลวงพ่อจะบอกให้ศิษย์ล่วงหน้าไปก่อนทุกครั้งส่วนหลวงพ่อยังนั่งฉันหมากอยู่บนกุฏิ แต่เมื่อไปถึงสวนก็เจอหลวงพ่อทำโน่นนี่นั่นอยู่ในสวนแล้วเป็นประจำ
หลังจากนั้นได้ศึกษาวิชากับหลวงพ่อหมึก วัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา ซึ่งท่านเกจิชื่อดังในสมัยนั้น หลวงพ่อหมึกมาจำวัดที่วัดอ่าวใหญ่เป็นประจำ หลวงพ่อนัสจึงฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อหมึก จึงศึกษาวิชาอาคมขลังต่างๆจากหลวงพ่อหมึก สมัยนั้นหลวงพ่อหมึกจะดังมากเรื่องลูกอมเพราะทหารเขมรเอาไปใช้แล้วเหนียวยิงไม่ออก
วัดอ่าวใหญ่วัดเก่าแก่แห่ง อ.เมืองตราด
วัดอ่าวใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านอ่าวใหญ่ ถนนตราด-แหลมศอก หมู่ ๑ ต.อ่าวใหญ่ อ.เมืองตราด จ.ตราด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน อ.เมืองตราด สร้างราวประมาณพุทธศักราชที่เท่าไหร่ไม่มีระบุอย่างแน่ชัด ตั้งเป็นที่พักสงฆ์ขึ้นบริเวณ ณ หมู่บ้านแหลมตะเคียน ห่างจากที่ตั้งวัดปัจจุบันประมาณ ๑ กิโลเมตร ประมาณ พ.ศ.๒๔๑๓ จนกระทั่งย้ายมาตั้งที่ปัจจุบัน โดยภายในบริเวณวัดมีอุโบสถเก่าและอุโบสถใหม่ รวมทั้งมีศาลาการเปรียญ ศาลาหอฉันท์ และสาธารณสถานอีกมากมาย ฯลฯ
พระผู้ดูแลหรือเจ้าอาวาสตามลำดับต่อไปนี้ ๑.หลวงตา อิน ๒.หลวงตา ช้าง ๓.หลวงตาเพิ้น ๔.หลวงตาเต้ย ๕.เจ้าอธิการจีน ๖.พระอธิการอ้อย ๗.พระอธิการอ่วม ๘.พระครูพุทธิคุณคชทีป และรูปที่ ๙ พ.ศ.๒๕๐๗ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน พระครูอโนมคุณ (หลวงพ่อนัส อโนมปัญโญ) ดำรงตำแหน่งมาถึงจนปัจจุบันนี้ ปัจจุบันการศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗
“เกจิอาจารย์ท่านที่ 5 “
หลวงพ่อสมัย สุจิตโต เจ้าอาวาสวัดป่าเกาะแหลม ตำบลบึงปรือ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา
วัดนี้อยู่รอยต่อสามจังหวัด ชัยภูมิ ลพบุรีและนครราชสีมา ท่านเกิดวันที่ 22 มีนาคม 2506 ชื่อสมัย สุทธิประภา เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวน 9 คน อายุครบบวชได้บวชแทนคุณพ่อแม่มีพระครูสุวรรณคูหาบริบาลวัดดงมะไฟเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านชอบเดินธุดงค์ฝึกจิตสมาธิ เรียนเลขยันต์กับหลวงปู่สรวง ฐิตปัญโญ ไปฝึกปฏิบัติกรรมฐานที่วัดมหาธาตุ กทม.ปี 2528 เป็นพระที่ใฝ่รู้ค้นค้าวจากตำรา ออกจากวัดมหาธาตุมุ่งหน้าไปอำเภอตาคลี ช่วงนั้นได้มีโอกาสไปช่วยงานศพหลวงปู่แหวนจนเสร็จก่อนจึงชวนเพื่อนอีก 3 องค์เดินธุดงค์ไป เมืองแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลกและถึงนครสวรรค์ ไปวัดถ้ำเขาประทุน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับเมตตาจากหลวงพ่อบัวสอนเป็นอาจารย์สอนฝึกสมาธิกรรมฐาน กระทั่งพรรษา 11 – 12 จึงกลับมาที่นครราชสีมาชาวบ้านขอร้องให้จำพรรษาที่วัดป่าเกาะแหลม ช่วงปี 2539 ชาวบ้านต่างดีใจได้ร่วมกันพัฒนาวัด
หลวงพ่อสมัยเป็นศิษย์สายตรงหลวงพ่อคูณ หลวงพ่อแช่ม ได้รับสืบทอดวิชาฝังตะกรุดใต้ท้องแขนจากหลวงพ่อคูณมาสู่หลวงพ่อแช่ม และส่งต่อวิชาอาคมนี้ให้หลวงพ่อสมัย ทำให้ลูกศิษย์ 3 สาย หลวงพ่อคูณ หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อสมัย ไหลมาอยู่ที่หลวงพ่อสมัย ข้าราชการบริษัทห้างร้านมารวมตัวไปกราบไหว้หลวงพ่อสมัยถึงกับให้สมัญญานามว่าเทวดาแห่งเทพารักษ์ เหยียบที่ไหนที่นั่นจะรวย อยู่เย็นเป็นสุข นี่คือคำบอกเล่าของชาวบ้าน ปัจจุบันมีลูกศิษย์นับหมื่นทั้งท่านเคยพูดไว้ว่าตราบใดทีครูบาอาจารย์ยังอยู่จะไม่ขอสร้างวัตถุมงคลโดยเด็ดขาด แต่ด้วยบารมีได้รับความศรัทธาจากศิษย์ทั้งในประเทศต่างประเทศ มาเล สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกงและจีน จากวัดร้างเป็นวัดที่มี โบสถ์กลางน้ำ ศาลาใหญ่วิจิตรงดงาม 3 มิติ พญานาคตัวใหญ่ต้อนรับเชิงบันได บนศาลามีภาพวาดที่วิจิตรงกงามสามมิติเป็นภาพพระพุทธเจ้าถือดอกบัวด้วยมือซ้ายเป็นปริศนาธรรมความเบิกบานแห่งพระพุทธศาสนา ภาพวาดของสามโลก สวรรค์ มนุษย์และนรก ศาลาปฏิบัติธรรมแห่งนี้มีทั้งพระสงฆ์ และแม่ชี และชาวบ้านนั่งวิปัสสนากรรมฐานฟังหลวงพ่อสมัยสอนทุกเย็น
“ เกจิอาจารย์ท่านสุดท้าย “หลวงปู่ทองพูน เขมเปโม
หลวงปู่ปัจจุบัน พระคุณเจ้าท่านมีสิริอายุ 109ปีแล้ว เป็นชาวจังหวัดเพชรบุรี ท่านเป็นศิษย์ 10 สาย พระเกจิอาจารย์ หรือที่ลูกศิษย์นิยมเรียกกันว่า หลวงปู่ทองพูน 10 ทัศน์
หลวงปู่ท่านเดินธุดงค์มาค่อนชีวิต ปฎิบัติธรรมอยู่ตามถ้ำมานานหลายสิบปี แม้เมื่อปัจจุบันท่านสร้างสำนักปฎิบัติธรรม ท่านก็ยังอยู่ในถ้ำ ถ้ำนั้นคือถ้ำจำปาทองครับ มาดูประวัติครูบาอาจารย์ของหลวงปู่กันนะครับ





มาต่อกัน





เรียกได้ว่าสุดยอดทั้งวัตถุมงคลและเกจิอาจารย์ที่ร่วมพุทธาภิเษกจริงๆ อดใจรอกันอีกหน่อยครับนับถอยหลังอีก 5 วัน เตรียมเน็ต เตรียมมือถือ เตรียมนิ้วไว้ให้ดี เพราะตั้งแต่เปิดจองวินาทีแรกเป็นต้นไป บอกได้งานนี้ คนแห่จองแน่นอน